วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

สมุนไพรไทย

สมุนไพรไทย
สมุนไพรไทยที่ไว้ใช้ประกอบอาหารพร้อมสรรพคุณที่น่ารู้
อาหารไทยมีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษในเรื่องการผสมผสานทางคุณค่าอาหารและสรรพคุณทางยาเพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพสูงสุดทั้งในแง่การป้องกันและการบำรุงรักษา ในปัจจุจบันอาหารไทยกำลังได้รับความนิยมระดับนานาชาติ มีร้านอาหารไทยจำนวนมากเปิดในเมืองใหญ่ต่างประเทศ เช่น ลอสแอนเจลลิสและนิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริกา กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษและเมืองต่างๆ อีกมากมายกรรมวิธีในการจัดเตรียม ประกอบ ตกแต่งอาหารไทยให้อร่อยต้องเริ่มต้นด้วยความพิถีพิถันในการเลือกซื้อเครื่องปรุงที่สดใหม่ จัดเก็บเพื่อรอนำไปประกอบอาหารด้วยวิธีที่ถูกต้อง วัตถุดิบในส่วนของพืชผักและสมุนไพรที่ใช้ในการทำอาหารไทยมีหลากหลายประเภทและพืชผักสมุนไพรที่ใช้ในการปรุงอาหารซึ่งพืชผักและสมุนไพรไทยที่เป็นเครื่องปรุงหลักๆ มีดังต่อไปนี้
ใบกระเพรา
ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: ใบสดมีน้ำมันหอมระเหยเป็นยาแก้ขับลม ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง บำรุงธาตุ ขับผายลม แก้อาการจุกเสียดในท้อง นอกยังมีฤทธิ์ลดไขมัน ลดน้ำตาล ลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดเลือดอุดตันและความดันโลหิตสูงไม่เฉพาะแต่คนไทยเท่านั้นที่รู้จักรับประทานใบกะเพราเป็นอาหารและยา ชาวเอเชียทุกชาติก็รู้จักใบกะเพราและบางชาติก็รู้จักใช้ประโยชน์จากใบกระเพราด้วย อย่างเช่นชาวอินเดียที่บูชาใบกระเพราเป็นใบไม้ศักดิ์สิทธิ์ตั้งชื่อให้ว่า โฮลลี่ เบซิลและยังใช้สมุนไพรตัวนี้ปรุงอาหารประจำวัน ซึ่งก็ไม่ต่างกับคนไทยที่อาศัยกลิ่นและรสของใบกระเพราดับกลิ่นคาวและชูรส
ใบกระเพรา
อบเชย
ประเภท: ไว้ปรุงรสอาหาร
สรรพคุณทางยา: แก้อาการจุกเสียด แน่นท้อง ขับลม ทำให้ท้องเป็นปกติดี ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง ขับปัสสาวะ ย่อยไขมัน แก้อ่อนเพลีย มีสารต้านแบคทีเรียและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานนิยมใช้อบเชยในการทำเครื่องแกงเช่น พริกแกงกระหรี่ประเภทผัด ใช้เป็นไส้กระหรี่ปั๊ปหรือใช้ร่วมกับโป๊ยกั้กในอาหารคาวประเภทต้มเช่น พะโล้และเนื้อตุ๋น ส่วนในประเทศแถบตะวันตก มักใส่อบเชยในของหวาน เช่น ซินนามอนโรลล์ ใช้ผงอบเชยละเอียดโรยหน้ากาแฟใส่นมและนอกจากนี้ยังมีลูกอม หมากฝรั่งและยาสีฟันรสอบเชยอีกด้วย
อบเชย
พริกขี้หนู
ประเภท: ไว้ปรุงรสอาหาร
สรรพคุณทางยา: บรรเทาอาการไข้หวัดและการหายใจสะดวกสบายยิ่งขึ้น ลดการอุดตันของหลอดเลือด ลดปริมาณสารโคเลสเตอรอล บรรเทาอาการเจ็บปวดพริกขี้หนูโดยปกติผลมักชี้ขึ้น มีลักษณะทั้งแบนๆ กลมยาวจนถึงพองอ้วนสั้น ขนาดของผลมีตั้งแต่ขนาดผลเล็กไปจนกระทั่งมีผลขนาดใหญ่ ผลแก่มีรสเผ็ดจัด ในการนำมาประกอบอาหารสามารถใช้ได้ทั้งในรูปพริกสด พริกแห้ง พริกป่นหรือนำมาดองกับน้ำส้ม พริกเป็นส่วนประกอบหลักของน้ำพริกแกง ใช้ปรุงรสอาหารให้มีรสเผ็ดตามต้องการในอาหารไทยทุกประเภท
พริกชี้ฟ้า
พริกชี้ฟ้า
ประเภท: ไว้ปรุงรสอาหาร
สรรพคุณทางยา: พริกชี้ฟ้าทำให้เจริญาอาหาร ช่วยระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น แก้หวัด ขับลม ช่วยสูบฉีดโลหิต บำรุงธาตุ และยังมีวิตามินเอสูง ซึ่งเป็นสารที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระอันก่อให้เกิดโรคมะเร็งพริกชี้ฟ้ามีผลรูปทรงกระบอกยาวมีลักษณะเป็นกระเปาะปลายเรียวแหลม มักโค้งงอ ยาว 6-9 เซนติเมตร ผิวเป็นมันสีเขียว เมื่อผลแก่สุกจะเปลี่ยนสีจากเขียวเป็นแดงหรือเหลือง ผลพริกมีความเผ็ดแตกต่างกันไป บางพันธุ์เผ็ดจัด บางพันธุ์ไม่เผ็ดเลย ใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิดหรือใช้ปรุงแต่งให้อาหารมีสีสันสวยงามมากขึ้น
พริกขี้หนู
ส้มซ่า
ประเภท: ไว้ปรุงรสอาหาร
สรรพคุณทางยา: ผิวลูก รสปร่า หอม ใช้ทำยาหอมแก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ น้ำในลูกรสเปรี้ยวอมหวาน กัดฟอกเสมหะ แก้ไอ ฟอกโลหิตใบส้มซ่าและรักษาโรคผิวหนังส้มซ่าเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ผลโตกว่าผลมะกรูดเล็กน้อยคล้ายส้มจุก ผิวหยาบขรุขระค่อนข้างหนา เปลือกผลมีกลิ่นหอม นิยมนำไปหั่นเป็นฝอยๆ ใส่หมูแนม ปลาแนมและหมี่กรอบ เพิ่มกลิ่นหอมทำให้ชวนรับประทานยิ่งขึ้น น้ำขนมจีนที่เป็น "น้ำพริก" เมือนำผลส้มซ๋าแก่จัดผ่าครึ่งผลใส่ลงไปจะช่วยให้มีกลิ่นหอมและช่วยเพิ่มรสชาติในการรับประทาน
ส้มซ่า
กานพลู
ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: เปลือกต้น แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุ ใบ แก้ปวดมวนดอกตูม รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่น ดอกกานพลูแห้งมีกลิ่นหอมจัดมีน้ำมันหอมระเหยมาก รสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้องกานพลูเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมเฉพาะ ส่วนที่นำมาใช้ได้แก่ เปลือกต้น ใบ ดอกตูม ผล น้ำมันหอมระเหย วิธีใช้ในการประกอบอาหารแกะเอาเกสรออกก่อน จึงคั่วเพื่อให้มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ด ถ้าใส่ในพริกแกงต้องนำไปป่นก่อนเช่น แกงมัสมั่น แกงบุ่มไบ๋ เป็นต้น หรือจะใช้ทั้งดอกก็ได้ เช่น ใส่ในต้มเนื้อ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงได้หลายชนิด
กานพลู
ผักชี
ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: ช่วยให้ผื่นหัดออกเร็วขึ้น แก้เด็กเป็นผื่นแดงไฟลามทุ่งผล - แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นมูก แก้ริดสีดวงทวาร มีเลือดออก แก้ท้องอืดเฟ้อ เมล็ด - แก้ปวดฟัน ปากเจ็บผักชีเป็นพืชล้มลุก สามารถใช้ทุกส่วนบริโภค ลำต้นมีสีเขียวเข้มและใบมีขนาดเล็ก สามารถนำมาประกอบอาหารหรือกินสดๆ ก็ได้ นอกจากจะใช้ในการตกแต่งอาหารสวยงามแล้วผักชียังช่วยดับความคาวของอาหารได้หลากหลายชนิด
ใบผักชี
ยี่หร่า
ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: ขับเสมหะ แก้นิ่ว ขับระดูขาว ช่วยย่อย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร หญิงหลังคลอดกินจะช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำนมยี่หร่าหรือเป็นพืชตระกูลกระเพรา อาหารไทยใช้ยี่หร่าในการปรุงแต่งกลิ่นอาหาร ยี่หร่าเม็ดเล็กจะมีกลิ่นหอมกว่าเม็ดใหญ่ รสเผ็ดร้อนและขม วิธีใช้ในการประกอบอาหารก่อนใช้ต้องคั่วเมล็ดแก่ผ่านการตากแห้ง ทุบหรือโขลกหมักเนื้อสัตว์ดับกลิ่นคาว ให้กลิ่นหอมผสมกับเครื่องแกงเช่น แกงเผ็ด แกงกะหรี่ แกงเขียวหวาน พะแนง หรือใช้แต่งกลิ่นขนมปังหรือเค้ก
ยี่หร่า
ข่า
ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: ช่วยขับโลหะและน้ำเหลือง ใช้ขับลมในลำไส้ด้วย เนื้อไม้ใช้ปรุงกับสะค้านและต้นดาวเรือง นำมารับประทานรักษาฝีลมและใช้ปรุงเป็นยาหอมลม รักษาท้องขึ้นอืดเฟ้อจุกเสียดและเป็นยาบำรุงธาตุด้วยข่าเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นลงหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะภายนอกของลำต้นมีข้อและปล้องเห็นได้ชัดเจน ส่วนที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารเป็นเหง้า ดอกและหน่ออ่อน อาหารไทยใช้ข่าเป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่นอาหารและดับกลิ่นคาวพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ต้มยำปลา ข้าวต้มปลา ต้มข่าไก่เป็นต้น เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่างๆ ดอกและลำต้นอ่อนใช้รับประทาน
ข่า
กระเทียม
ประเภท: ไว้ปรุงรสอาหาร
สรรพคุณทางยา: ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ความดันโลหิตสูงและปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันโรคหวัดได้อีกด้วยส่วนที่ใช้อยู่ในหัวหรือกลีบ หัวใช้สดหรือแห้งก็ได้ กระเทียมนำมาประกอบอาหารหรือใช้ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์และเพิ่มรสชาติให้ักับอาหารประเภทผัดต่างๆ ทั้งยังใช้กระเทียมเจียวโรยหน้าตกแต่งอาหารหรือใช้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในเครื่องแกงชนิดต่างๆ นอกจากนี้ใบและหัวกระเทียมสดยังเป็นผักใช้รับประทาน รวมถึงสามารถนำไปทำกระเทียมดองด้วย
กระเทียม
ขิง
ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหารและทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและจะมีใยอาหารมากขิงมีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ ส่วนที่ใช้นำมาประกอบอาหารได้แก่เหง้า หน่ออ่อน เนื้ออ่อนในลำต้นและช่อดอกอ่อน ขิงเป็นเครื่องเทศที่ใช้ในการแต่งกลิ่นอาหาร เพิ่มรสชาติและดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์และยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกายมากมายทั้งโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียมและวิตามินเอ
ขิง
กระชาย
ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: กระชายมีรสเผ็ดร้อน สารสำคัญในรากและเหง้ากระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ในลำไส้ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปากและเป็นยาอายุวัฒนะกระชายเป็นพืชล้มลุกมีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะเรียว ยาวอวบน้ำ ตรงกลางเหง้าจะพองคล้ายกระสวย ออกเกาะกลุ่มกันเป็นกระจุกเนื้อข้างในเป็นสีเหลืองมีกลิ่นหอม ส่วนที่ใช้ในการประกอบอาหารคือเหง้าและรากเป็นส่วนผสมของเครื่องแกงขนมจีนน้ำยา ใช้เพื่อดับกลิ่นคาวเนื้อและปลา เช่น ผัดเผ็ดปลาดุก แกงเผ็ดเนื้อ หลนปลาร้าเป็นต้น
กระชาย
ผลและใบมะกรูด
ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: ช่วยบำรุงหัวใจ ระบบการไหลเวียนของโลหิต แก้ไอ ลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ แก้ช้ำใน อาการเกร็ง แก้ฝีภายในและขับเสมหะใบและผิวมะกรูดเป็นเครื่องเทศผสมใน เครื่องแกงหลายชนิดของแกงเผ็ดและผัดเผ็ด น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยวใช้ปรุงอาหารดับกลิ่นคาว นิยมใส่น้ำมะกรูดในปลาร้าหลน แกงส้ม แกงเทโพ ใบมะกรูดโดยการฉีกหรือหั่นฝอยเพื่อกลบคาวหรือแต่งกลิ่นในแกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ปลา แกงต้มส้ม ต้มยำ ห่อหมก ทอดมันและใช้โรยหน้าอาหารที่ปรุงเสร็จแล้วเพื่อแต่งกลิ่น
มะกรูด
มะนาว
ประเภท: ไว้ปรุงรสอาหาร
สรรพคุณทางยา: แก้ไอ ขับเสมหะ รักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้โรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม แก้อาเจียน เมาเหล้า ขจัดคราบบุหรี่และบำรุงสายตามะนาวเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งมีรสเปรี้่ยวจัดอยู่ในสกุลส้ม นับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า น้ำมะนาวใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหารให้เปรี้ยว ใส่ในต้มยำ ส้มตำ พล่า ยำ น้ำพริกชนิดต่งๆ เช่น น้ำพริกกะปิ ปลากหมึกนึ่งมะนาวและใช้ผสมน้ำเป็นเครื่องดื่ม
มะนาว
ตะใคร้
ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: ขับเสมหะ แก้ไอ เลือดออกตามไรฟัน เหงือกบวม นอกจากนี้ยังช่วยแก้อาการปวดศีรษะ แก้อาเจียน เมาเหล้า ขจัดคราบบุหรี่ บำรุงตาและบำรุงผิวตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย มีทรงพุ่มสูงประมาณ 1 เมตร สามารถนำมาใช้ได้ทั้งต้นทั้งในส่วนของลำต้น หัว ใบและราก สามารใช้ปรุงอาหารได้หลายอย่าง อีกทั้งยังนิยมนำมาต้มเป็นน้ำดื่มช่วยให้เจริญอาหาร มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิดเช่นแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็กและวิตามินเอ
ตะไคร้
ใบสาระแหน่
ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: แก้อาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในกระเพาะก้อาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อและช่วยขับลมในกระเพาะ น้ำมันสาระแหน่ช่วยขจัดลมร้อน ถอนพิษไข้ ใช้ผสมยาหรือยาอมเพื่อให้เย็นชุ่มคอส่วนที่นำมาใช้เป็นใบสดและลำต้น ใช้รับประทานเป็นผักสดเป็นเครื่้องเคียงแกล้มกับน้ำพริก พล่า ยำ ช่วยดับกลิ่นคาวและช่วยให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน สาระแหน่มักใช้เป็นส่วนผสมในการทำไอศกรีมและชาสมุนไพรทั้งร้อนและเย็น มักผสมในอาหารกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ
ใบสาระแหน่
ลูกจันทน์เทศ
ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: แก้การอักเสบของทางเดินปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ ใช้เป็นยาขับลม ในอินเดียนำไปผสม เป็นยารับประทานแก้ปวดหัว เป็นไข้หรือทำให้ลมหายใจมีกลิ่นสะอาดและแก้อาการผิดปกติของระบบทางเดินอาหารลูกจันทน์เทศและดอกจันท์เป็นเครื่งอยาที่ใช้มากในยาไทยและเป็นเครื่องเทศที่รู้จักกันทั่วโลก มีรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอมเฉพาะ เนื้อมีรสเปรี้ยวฝาดเล็กน้อย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เนื้อผลคือส่วนของเมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม ดอกคือส่วนขอเยื่อหุ้มมีสีแดงเข้ม ใช้เป็นเครื่องปรุงแต่งอาหารคาวหวานหลายชนิดเช่น ขนมปัง เนื้อตุ๋นต่างๆ แกงมัสมั่นเป็นต้น
ลูกจันทน์เทศ
ใบเตย
ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: บำรุงหัวใจช่วยลดการกระหายน้ำ ลดน้ำตาลในเลือดและนอกจากนี้ยังแก้โรคเบาหวานอีกด้วยมีลักษณะใบยาวเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบผิวใบเป็นมัน สามารถนำมาใช้ในส่วนของลำต้น รากและใบสด เป็นพืชที่รู้จักกันดีของคนไทยสามารถนำไปใช้ประโชบน์ได้สารพัดอย่าง นำมาปรุงอาหารประเภทคาวหวานและเครื่องดื่ม ช่วยดับกลิ่นคาวเพิ่มกลิ่นหอมของอาหารให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น ใบเตยหอมจะให้ทั้งสีและกลิ่น สีที่ได้จากใบเตยคือสีเขียว
ใบเตย
พริกไทย
ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: พริกไทยนั้นมีประโยชน์หลายอย่างเช่น รักษาโรคหลอดเลือดอักเสบเรื้อรัง อาการอ่อนเพลีย โรคผิวหนังหรือแม้กระทั้งระบบย่อยอาหารของเด็กเล็กอีกด้วยเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงสำหรับอาหาร หากนำมาทำให้แห้งทั้งเปลือกจะได้พริกไทยดำ เนื่องจากผงของเปลือกเป็นสีดำปนอยู่ ส่วนพริกไทยขาวได้จากการลอกเปลือกออก พริกไทยเป็นส่วนผสมในเครื่องแกงทุกชนิด คนไทยใช้พริกไทยสดในการประกอบอาหาร เช่น แกงเผ็ด แกงป่า ผัดเผ็ดเป็นต้น
พริกไทย
งา
ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: มีโปรตีน ที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย คือ กรดอะมิโนเมธิโอนีน งานั้นมีแคลเซียมมากว่านมวัวถึง 6 เท่าแก้โรคปัสสาวะอุตตัน ไอแห้งและกระตุ้นการงอกของเส้นผมงาเป็นพืชล้มลุก เมล็ดเล็กๆ สีขาวหรือสีดำ มีประโยชน์ต่อร่างกายให้คุณค่าทางโภชนาการสูงอุดมด้วยวิตามินบี ใช้เป็นอาหารและเครื่องเทศ สามารถบีบเอาน้ำมันได้ กลิ่นและรสของเมล็ดงาคล้ายกับถั่ว สามารถนำไปประกอบอาหารได้ทุกประเภทหรือดับกลิ่นครวปลาและอาหารทะเล น้ำมันงาใช้ทำน้ำสลัดเพื่อสุขภาพหรือเป็นน้ำมันปรุงอาหาร
งา
หอมแดง
ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: หัวหอม มีรสฉุน ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ช่วยย่อยและเจริญอาหาร แก้บวมน้ำ แก้อาการอักเสบต่าง ๆ ขับพยาธิและช่วยให้ร่างกายอบอุ่นหอม แดงช่วยดับกลิ่นคาวและเพิ่มรสชาติ เป็นส่วนประกอบสำคัญในเครื่องแกงทุกชนิด ใช้ในอาหารประเภทแกงเผ็ด ต้มโคล้ง แกงเลียง ต้มยำ อาหารประเภทหลน อาหารประเภทยำ ลาบ น้ำพริกต่างๆ อาจาด เมี่ยง เครื่องเคียงของข้าวซอย ใช้ในขนมหวาน เช่นขนมหม้อแกง ใช้หอมแดงซอย เจียวให้เหลืองโรยหน้า ต้นและใบใช้เป็นผักสดสำหรับเป็นเครื่องเคียง
หอมแดง
ต้นหอม
ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา: ช่วยในการขับเหงื่อและบพรุงหัวใจ ถ้ากินสดๆ อย่างต่อเนื่องสามารถลดไขมันในเส้นเลือดได้ ถ้านำต้นหอม 5-6 ก้าน ต้มกับขิง 2 แว่น กรองน้ำดื่ม ขับเหงื่อและลดไข้ต้นหอมเป็นพืชตะกูลเดียวกับกระเทียม มีหัวสีขาวหรือสีขาวปนม่วงอยู่ใต้ดิน สามารถนำมารับปะรทานได้ทุกส่วนทั้งใบ ดอกและหัว มีกลิ่นฉุนและรสซ่านิยมนำมารับประทานเป็นผักเคียงกับอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ขาวหมูแดง ส่วนใบใช้โรยหน้าอาหารและใส่ในต้ม ผัด ยำ หรือแกงต่างๆ รวมถึงสามารถนำไปดองด้วย
ต้นหอม
ขมิ้น
ประเภท: ไว้ประกอบอาหาร
สรรพคุณทางยา:เป็นยาลดกรด ขับลมแก้ปวดท้อง แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อทำให้การบีบตัวของลำไส้ลดลลง ใช้เป็นยาเจริญอาหาร ขับน้ำเหลืองและช้รักษารอบเดือนไม่ปกติมีลักษณะเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อเป็นสีเหลือง เหลืองเข้มจนสีแดงจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งสดและแห้ง เหง้าแห้งนิยมป่นเป็นผง ใช้ประกอบอาหารได้หลากหลายชนิดใช้ปรุงแต่งกลิ่นและรสในอาหาร โดยเฉพาะอาหารทางภาคใต้เช่นแกงเหลือง แกงไตปลา แกงกะหรี่ ไก่ทอดขมิ้นเป็นต้น



อ้างอิง http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/
ขมิ้น

อาหารไทย 4 ภาค

ภาคกลาง
ภาคกลาง นับได้ว่าเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่นๆ ถือได้ว่าภาคกลาง เป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากสภาพทางภูมิประเทศที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลอง หนอง บึงมากมาย จึงทำให้ภาคกลางเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของประเทศไมว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรม หรือปศุสัตว์ นอกนั้นจากในบางพื้นที่ของภาคกลางยังมีบางส่วนที่ติดกับทะเลจึงทำให้ภาคกลาง มีวัตถุดิบที่ใช้ในกาปรุงอาหารที่หลากหลายFood of Central Plains Central Thailand
อาหารภาคกลาง

อาหารภาคกลาง เป็นประดิษฐ์กรรมทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมจากหลากหลายเชื้อชาติได้แก่ จีน อินเดีย เขมร พม่า เวียดนามและประเทศจากชาติตะวันตกที่ เข้ามานับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตัวอย่างได้แก่ อาหารประเภทแกงกะทิและเครื่องแกง ได้รับอิทธิพลมาจากชาวฮินดู การผัดโดยการใช้กระทะและน้ำมันมาจากประเทศจีน ขนมเบื้องไทย ดัดแปลงมาจากขนมเบื้องญวน ขนมหวานประเภททองหยิบ ทองหยอด ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศทางตะวันตกเป็นต้น ดังนั้นอาหารภาคกลางจึงเป็นอาหารที่มีความหลากหลายทั้งในด้านการปรุงและรสชาติ นอกจากนี้อาหารมักจะถูกประดิษฐ์ให้เป็นอาหารที่เลิศรส วิจิตรบรรจง ซึ่งได้รับวัฒนธรรมมาจากราชสำนัก ตัวอย่างอาหารเช่น ช่อม่วง จ่ามงกุฎ หรุ่ม ลูกชุบ กระเช้าสีดา ทองหยิบ ข้าวแช่ รวมทั้งการแกะสลักผักและผลไม้ได้อย่างวิจิตรเป็นต้น
คนไทยภาคกลางบริโภคข้าวเจ้าเป็นหลัก การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อจะจัดเป็นสำรับมีกับข้าวหลายอย่าง รสชาติอาหารภาคกลางมีการผสมผสานของหลาหลายรสชาติทั้งรสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด เอกลักษณ์ของรสชาติอาหารไม่ได้เกิดจากเครื่องปรุงเพียงอย่างเดียว เช่น รสเปรี้ยวที่ใช้ปรุงอาหารอาจได้ทั้งจากมะนาว มะขาม มะกรูด ตะลิงปลิง ส้มแขก ผลไม้บางชนิด เช่น มะดัน มะม่วง เป็นต้น การใช้เครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่แตกต่างกันจึงทำให้เกิดความหลากหลายใช้ชนิดของอาหารไทยภาคกลาง เช่น ต้มยำ ใช้มะนาวเพื่อให้รสเปรี้ยว แต่ต้มโคล้งใช้น้ำมะขามเปียกเพื่อให้รสเปรี้ยวแทน นอกจากนั้นยังมีรสเค็ม ที่ได้จากน้ำปลา กะปิ รสขม ที่ได้จากพืชชนิดต่างๆ เช่น มะระ เป็นต้นและความเผ็ดที่ได้จากพริก พริกไทยและเครื่องเทศ อาหารภาคกลางเป็นอาหารที่มีครบทุกรส ซึ่งอาหารไทยที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่รู้จักและนิยมบริโภคล้วนแต่เป็นอาหารภาคกลางทั้งนั้นไมว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน ผัดไทย พะแนง เป็นต้นจึงทำให้อาหารภาคกลาง มีความโดดเด่นเป็นพิเศษมากกว่าอาหารภาคอื่น
อาหารภาคเหนือ
ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อนโดยศูนย์กลางทั้งหมดอยู่ที่เชียงใหม่ภายหลังคนไทยได้อพยพไปทางใต้และตั้งอาณาจักรสุโขทัย ให้เป็นเมืองหลวงของสยาม หลังจากสมัยสุโขทัย ก็ต่อด้วยอยุธยาเป็นลำดับต่อมาและท้ายสุดที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยในปัจจุบัน ช่วงที่อาณาจักรแห่งนี้เรืองอำนาจได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาวและมีผู้คนจากดินแดนต่างๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่างๆ เข้ามาในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วยอาหารภาคเหนือ
อาหารภาคเหนือ

เนื่องจากทางภาคเหนือมีอากาศที่เย็นจึงทำให้มีพืชผักที่สดกว่าในจังหวัดอื่นๆ ทำให้ส่วนประกอบของอาหารทุกมื้อจะมีผักเป็นส่วนใหญ่ อาหารที่เป็นที่รู้จักกันทางภาคเหนือ บางประเภทก็ได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าและลาว จึงทำให้อาหารพื้นบ้านหรืออาหารท้องถิ่นในบางที่อาจจะมีรสชาติที่แตกต่างกันไป
วัฒนธรรมการกินของเหนือเป็นไปตามบรรพบุรุษ อาหารส่วนใหญ่ได้มาจากธรรมชาติเช่นของป่าหรือสิ่งที่อยู่ภายในบริเวณบ้านเช่น พืช ผักและสัตว์ที่เลี้ยงไว้เอง โดยรวมไปถึงอาหารที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลเช่น หน่อไม้ป่า เห็ดป่านานาชนิดเป็นต้น
ชาวเหนือมีวัฒนธรรมการผลิตและการบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลักคือ จะปั้นข้าวเหนียวแล้วจิ้มกินกับน้ำแกงหรือน้ำพริก โดยเฉพาะการกินข้าวเหนียวกับส้มตำ ซึ่งจะเป็นที่รู้จักกันดีทางภาคเหนือและภาคอีสาน ชาวเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิดเช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง น้ำพริกน้ำปู น้ำพริกน้ำปู ฯลฯ ซึ่งผักที่เป็นเครื่องจิ้มและรับประทานคู่กันส่วนมากเป็นผักสดและผักนึ่ง สำหรับอาหารประเภทเครื่องแกงเช่น แกงขนุนอ่อน แกงแค แกงฮังเล แกงโฮะ แกงหน่อไม้ แกงอ่อม แกงผักหวาน แกงผักปั๋ง แกงผักกาดจอ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอยไก่ ฯลฯ และอาหารประเภททอด ยำหรือนึ่ง เช่น ยำหน่อไม้ ยำกบ ตำจิ๊นแห้ง ตำขนุน ตำมะม่วง ผักกาดส้ม ข้าวกั๊นจิ๊น ห่อนึ่งปลา แคบหมู ไส้อั่ว จิ๊นส้มหมก ฯลฯ
อาหารของชาวเหนือจะมีการจัดสำรับที่สวยงามและวิธีรับประทานที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งเรียกว่าการกินขันโตก เพราะด้วยนิสัยชาวเหนือจะมีกริยาที่แช่มช้อย จึงส่งผลต่ออาหารและทำให้อาหารรสชาติออกมาอย่างดีและลงตัว
อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อาหารอีสาน)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือที่เรียกติดปากกันว่าภาคอีสานเป็นชุมชนที่มีพื้นที่อันหลากหลายและยังได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมการบริโภคจากประเทศลาวซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงคนไทยมากที่สุด เรียกว่าเป็นบ้านพี่เมืองน้อง ชาวไทยบางชนเผ่าสืบเชื้อสายมาจากลาว พี่น้องลาวบางคนยังอาศัยอยู่ในเมืองไทย อาหารลาวเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากและมีลักษณะไม่แตกต่างจากอาหารอีสาน ชาวลาวมีวัฒนธรรมการบริโภคที่เป็นกันเองไม่ยุ่งยากอาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - อาหารอีสาน
อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - อีสาน

ชาวอีสานนั้นดำรงชีพและหากินตามสภาพทางภูมิศาสตร์ของท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ เช่น กลุ่มที่ตั้งชุมชนตามริมฝั่งแม่น้ำหรือหนองน้ำก็จะทำนาปลูกข้าว หาอาหารที่ได้จากแม่น้ำเช่น กุ้ง หอย ปลา ปู กบ เขียด ส่วนกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานตามภูเขาตามป่าย่อมเหมาะแก่การเลี้ยงชีพด้วยอาหารป่า ล่าสัตว์ หาเห็ด หาผึ้ง เป็นต้น ชาวอีสานมีวิถีชีวิตที่ดำเนินเรียบง่าย รับประทานอาหารได้ทุกอย่าง อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด เค็มและเปรี้ยว รู้จักการนำสิ่งต่างๆ มาทำดัดแปลงเป็นอาหารในท้องถิ่น อาหารทางอีสานทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักและพวกเนื้ออย่างเช่น เนื้อปลา เนื้อวัว หรือเนื้อควาย แล้วแต่ความชอบของบุคคลนั้น
เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้ในทุกครัวเรือนเลยคือ ปลาร้า (ปลาแดก) ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้าไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา ซึ่งปลาร้า นอกจากจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาหารแล้ว ปลาร้ายังเป็นส่วนประกอบในการปรุงรสชาติของอาหารอีกอย่างหนึ่ง ที่ทำให้รู้จักกันทั่วประเทศไทยไปจนถึงทั่วโลก ที่เรียกกันว่า "ส้มตำ" เป็นภาษากลางที่ใช้เรียกกันทั่วไป แต่ถ้าเป็นชาวอีสานจะเรียก "ตำบักหุ่ง" หรือ ตำส้ม ส้มตำของชาวอีสานจะมีความหลากหลายทั้งพืชผัก ผลไม้ ชนิดต่างๆ สามารถนำมาตำรับประทานได้ทั้งสิ้น เช่น ตำมะละกอ ตำถั่วฝักยาว ตำกล้วยดิบ ตำหัวปลี ตำมะยม ตำลูกยอ ตำแตง ตำสับปะรดตำมะขาม ตำมะม่วง เป็นต้น ซึ่งจะมีรสชาติที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเภทแต่โดยรวมๆ แล้วจะเน้นที่ความมีรสจัดจ้านถึงใจและเน้นรสชาติเปรี้ยว
วิธีปรุงอาหารพื้นเมืองของแต่ละท้องถิ่นของทางภาคอีสาน มีลักษณะแตกต่างกันออกไปและสอดคล้องกับ ธรรมชาติและทรัพยากรอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเลือกวิธีการปรุง ที่เหมาะสมกับชนิดของวัตถุดิบและเป็นที่ถูกปากและพึงพอใจแก่ผู้บริโภค สำหรับชาวจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธรและอำนาจเจริญ มีกรรมวิธีปรุงอาหารที่เรียบง่าย สะดวก รวดเร็วและมีรสชาติแตกต่างกันออกไป ชาวบ้านมีวิธีการปรุงอาหารเพื่อบริโภคในชีวิตประจำวัน โดยอาหารดังกล่าวจัดไว้ใน "พา" (ภาชนะ หรือ ภาชน์) ซึ่งทำด้วยหวาย หรือไม้ไผ่ หรือ วัสดุอื่น ซึ่งมีลักษณะกลมขนาดจะแตกต่างกันแล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละครอบครัว "พา" จะเป็นภาชนะสำหรับใส่อาหารต่างๆ ที่รับประทานกับข้าวเหนียว ชื่ออาหารหรือกับข้าวของชาวอีสานเรียกด้วยชนิดของวัสดุที่ใช้ทำ หรือประกอบอาหาร (มิได้เรียกชื่อตามลักษณะการทำให้อาหารสุก)
อาหารหลายอย่างของพื้นเมืองนิยมใส่ข้าวคั่วและข้าวเบือ อาหารที่นิยมใส่ข้าวคั่วได้แก่ ลาบ ก้อย ซุป ส้า แกงอ่อม (บางครอบครัว) ส่วนข้าวเบือนิยมใส่ในแกงหน่อไม้และแกงอ่อม เพื่อให้อาหารมีลักษณะสัมผัสดี มีความข้นของน้ำแกงพอเหมาะ เมื่อปั้นข้าวเหนียวจิ้มจะทำให้ติดข้าวเหนียวได้มากจะได้รสชาติดียิ่งขึ้น
ภาคใต้
สำรับอาหารภาคใต้
สำรับอาหารภาคใต้
ภาคใต้เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด ลักษณะภูมิประเทศเป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเล ผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย เมื่ออาศัยอยู่ชายทะเล อาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล เพราะชีวิตของคนภาคใต้เกี่ยวข้องกับทะเล เมื่อออกทะเลหาอาหารมาได้มากเกินรับประทานให้หมดในหนึ่งมื้อได้ คนภาคใต้จึงนำอาหารที่ได้จากทะเลมาทำการถนอมอาหารเช่น กุ้งส้ม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กุ้งแตะ ซึ่งจะมีสีเขียวเมื่อนำมาทำเป็นกุ้งส้มสีจะออกแดงๆ และมีรสเปรี้ยว การทำกุ้งส้มนั้นนำกุ้งมาหมักกับเกลือ น้ำตาลทรายโดยหมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วันจนมีรสเปรี้ยว จึงนำมาทำอาหารรับประทานได้
การที่อาหารภาคใต้มีรสร้อน รสเผ็ดและกลิ่นฉุนของเครื่องเทศก็เป็นเพราะวัฒนธรรมการบริโภคอาหารพื้นเมืองของชาวใต้นี้มีความเหมาะกับสภาพภูมิอากาศและสุขภาพอย่างมากมายเนื่อง เนื่องจากภาคใต้มีภูมิอากาศร้อนชื้น ทำให้ง่ายแก่การเจ็บป่วย ดังนั้นอาหารพื้นเมืองที่รับประทานส่วนมาก จะมีรสเผ็ดช่วยให้ร่างกายอบอุ่นและช่วยป้องกันการเจ็บป่วยได้เป็นอย่างดี
อาหารภาคใต้ เป็นอาหารที่มีรสชาติจัดจ้านและชอบใส่เครื่องเทศมากๆ โดยเฉพาะขมิ้น เพื่อดับกลิ่นคาวของอาหารทะเลจำพวก กุ้ง หอย ปู ปลา คนใต้ชอบกินผักกับอาหารแทบทุกชนิด เพื่อช่วยลดความเผ็ด ผักที่กินกันมากได้แก่ สะตอ กระถิน ถั่วฝักยาว ถั่วพู แตงกวา แตงร้าน อาหารจานเดียวแบบฉบับชาวใต้ คือ ข้าวยำปักษ์ใต้ ที่ประกอบด้วยเครื่องเครามากมาย ตั้งแต่มะพร้าวขูดคั่ว กุ้งแห้งป่น ตะไคร้ ใบมะกรูด ดอกดาหลา ถั่วฝักยาว ใบชะพลู ส้มโอ ถั่วงอกแตงกวา มะนาว เป็นต้น ส่วนอาหารจานเด่นได้แก่ แกงไตปลา ที่อุดมด้วยหน่อไม้ ถั่วฝักยาว ฟักทอง มันเทศ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ มะเขือเปราะ มะเขือพวง หรืออย่างเคยคั่ว ที่เป็นน้ำพริกเครื่องจิ้มกับผักเหนาะ เช่น หัวปลี สะตอ ลูกเนียง ลูกเหรียง ยอดกระถิน มะเขือ ต่างๆ



อ้างอิง http://nlovecooking.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-4-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84/

ประวัติ เกม Heroes of Newerth





ฮีโรส์ออฟนิวเอิร์ธ (ฮอน) (อังกฤษ: Heroes of Newerth, ย่อ: HoN) เป็นเกมแนว Multiplayer Online Battle Arena (MOBA) พัฒนาโดยค่าย S2 Games ปัจจุบันพัฒนาโดย Frostburn Studio เล่นได้ทั้งบนระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์, แมคโอเอส และลีนุกซ์[1][2] เกมนี้มีรูปลักษณ์คล้ายกับเกมดีเฟนซ์ออฟดิแอนเชียนส์ ฮอนเป็นเกม แอคชั่นวางแผนเกมแรกของ S2 Games ถูกปล่อยออกมาเมื่อ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 และปล่อยมาให้เล่นฟรีเมื่อ29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[3]ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2558 ตัวเกมได้เปลี่ยนผู้พัฒนาจากค่าย S2 Games เป็น Frostburn Studios[4]

รูปแบบการเล่น

เกมนี้จะแบ่งฝ่ายฝ่ายละ 5 ผู้เล่น โดยมีฝั่ง Legion และ Hellborne โดยผู้เล่นจะต้องทำการเลือก Heroes จากนั้น ก็จะทำการดันเลน ไปจนถึงฝ่ายตรงข้ามให้ได้ เพื่อที่จะไปถึง สิ่งก่อสร้างของทั้งสองฝ่าย โดยในเกมส์จะมี Heroes 3 สาย คือ Strength Intelligence และ Agility โดยแต่ละสายก็มีการเล่นที่แยกแตกต่างกันไป เช่น Carry Ganker Support Solo Etc.เกมส์นี้ระบบการเล่นจะไม่ต่างจาก Dota มากนัก ซึ่งหากผู้เล่นมีพื้นฐาน Dota ก็จะเล่นได้แบบไม่ยากนัก.

การพัฒนา

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 นักออกแบบเกม Alan ได้บอกว่าเกมส์นี้จะใช้เวลาพัฒนา 34 เดือน โดยพัฒนาระบบใน 13 เดือนแรก และอีก 21 เดือนใช้ในการพัฒนาส่วนที่เหลือ คือ แผนที่ ตัวละคร กราฟิกต่างๆ อุปกรณ์จะมีการปรับสมดุล ของตัวละครและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในทุก ๆ แพทซ์ ตัวละครหลายๆตัวในฮีโรส์ออฟนิวเอิร์ธ มีลักษณะคล้ายฮีโร่ในเกมดีเฟนซ์ออฟดิแอนเชียนส์ แต่มีข้อแตกต่าง คือ มีการบันทึกสถิติของผู้เล่น ในขณะเล่นสามารถสื่อสารกันได้ด้วยเสียง หน้าจอการเลือกตัว สามารถกลับเข้ามาเล่นได้อีกแม้อินเทอร์เน็ตจะหลุดไปชั่วขณะหนึ่ง การปรับสมดุลของผู้เล่นทั้งสองทีม มีบทลงโทษสำหรับผู้เล่นที่ออกจากการเล่นก่อนที่เกมจะจบ มีรายละเอียดของความสามารถของตัวละครแต่ละตัวและมีการพัฒนาสม่ำเสมอ สามารถเข้าชมการเล่นของเพื่อนได้มีการบันทึกรายชื่อเพื่อน
ฮีโรส์ออฟนิวเอิร์ธได้เปิดให้ทดลองเล่นเมื่อ 24 เมษายน 2552 จนถึง 12 พฤษภาคม 2553 ในช่วงเวลานี้มีผู้สมัครเข้าร่วมทดลองถึง 3,000,000 คน S2 Games ใช้เฟซบุ๊กและการบอกเล่าปากต่อปาก ทำให้ผู้คนรู้จักเกมนี้

One piece







วันพีซ (ญี่ปุ่น: ワンピ-ス Wanpīsu ในชื่ออังกฤษ One Piece ?) เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น เขียนโดย เออิจิโร โอดะ เรื่องราวของการตามหา "วันพีซ" โดยผู้ที่ได้มาครอบครองจะได้เป็นจ้าวแห่งโจรสลัด เริ่มลงตีพิมพ์ในนิตยสาร โชเน็นจัมป์ ของสำนักพิมพ์ ชูเอฉะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 และเนื่องจากความโด่งดัง วันพีซ จึงได้รับการดัดแปลงเป็น อะนิเมะ นวนิยาย รวมไปถึง เกม อีกหลายภาคด้วยกัน
ในประเทศไทย วันพีซได้ลิขสิทธิ์โดย สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารการ์ตูน ซีคิดส์ รายสัปดาห์ ส่วนฉบับอะนิเมะ ได้ลิขสิทธิ์โดย Audio & Video Entertainment (เฉพาะภาคแรก) และ ดรีม เอกซ์เพรส (เดกซ์) (ตั้งแต่ภาคแรก) ปัจจุบันออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอ็มคอตเอชดี และผ่านดาวเทียม ช่อง การ์ตูนคลับแชนแนล นอกจากนั้นยังเคยออกอากาศทางฟรีทีวี ช่อง ทีไอทีวี, ช่อง โมเดิร์นไนน์ทีวี และ ช่อง 3 มาก่อน
วันพีซเป็นหนึ่งในการ์ตูนที่โด่งดังที่สุดของญี่ปุ่น จุดเด่นของเรื่องนี้อยู่ที่การที่ผู้วาดได้สร้างสรรค์ความฝันซึ่งต้องการผจญภัยพร้อมกับเหล่ามิตรแท้ในวัยเด็กของหลายๆ คนได้อย่างมีเสน่ห์ โดยระหว่างการผจญภัย ลูฟี่และผองเพื่อนต้องเจออุปสรรคในการพิสูจน์เพื่อนแท้มากมาย รวมทั้งได้เรียนรู้เรื่องราวและตำนานของบุคคลต่างๆ ที่ผ่านเข้ามาในเนื้อเรื่อง

สเปคคอมเเรงๆ


1.ซีพียู > AMD X4 860K = Turbo4.00GHz (3.70GHz)
*เป็นซีพียู Quad-Core 4หัว แรงๆ ลื่นๆ*
(ของใหม่แกะกล่องจากศูนย์ มีประกัน 3ปี)

2.เมนบอร์ด > Bioster = A88MQ
ชิปเซ็ต ของเมนบอร์ดตัวนี้ คือ AMD A88X โดยจะทำหน้าที่เชื่อมต่อหรือประสานการทำงาน
ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
แถมเมนบอร์ดตัวนี้ ยังสามารถอัพแรมสูงสุดได้ถึง 64GB. / และยังสามารถอัพเกรด CPU ได้ถึงระดับ AMD A10-8850B
*ต้องยอมรับว่า... เมนบอร์ดตัวนี้คุ้มค่าจริงๆครับ ทั้งแรง ทั้งรองรับการอัพเกรดในอนาคต*
(ของใหม่แกะกล่องจากศูนย์ มีประกัน 3ปี)

3.การ์ดจอแยก Radeon HD 7730 = (2GB.)
*การ์ดจอแยกแรงๆ 2GB. เล่นเกมส์ไม่มีกระตุก*
(ของใหม่แกะกล่องจากศูนย์ มีประกัน 3ปี)

4.ฮาร์ดดิสก์ > Western 1TB. = (1000GB.) 
*ฮาร์ดดิสก์ อึดๆ ทนๆ รุ่นใหม่ ตัวแรง ความจุแน่นๆ*
(ของใหม่แกะกล่องจากศูนย์ มีประกัน 3ปี)

5.แรม (มีซิงค์) > Kingston Hyper-X = (8GB.) 
รองรับแรมได้หลายชนิด เช่น DDR3 บัส 2600(OC)/2400(OC)/2133/1866/1600/1333/1066/800 MHz
*เครื่องนี้...อัพแรมได้ถึง 64GB. ครับ*
(ของใหม่แกะกล่องจากศูนย์ ประกันตลอดอายุการใช้งาน)

6.พาวเวอร์ซัพพลาย > ITSONAS = (580วัตต์)
(ของใหม่แกะกล่องจากศูนย์ มีประกัน 1ปี)

7.ตู้เคส > GUST
เคส GUST เป็นเคสคอมพิวเตอร์สุดเทห์ มีพัดลมไฟLEDไว้ระบายความร้อน3ตัวด้วยกัน ข้างหน้า1ตัว ข้างบน1ตัว และข้างหลังอีก1ตัว ทั่งนี้ฝาข้างของตัวเคสยังออกแบบมาเป็นฝาข้างใส เพื่อให้มองเห็นภายใน ทำให้ตัวเคสมีสีสันที่สวยงามและ โดดเด็นในยามค่ำคืน 
*ขนาดของเคส 425mm x 200mm x 500 mm* 
(ของใหม่แกะกล่องจากศูนย์ มีประกัน 1ปี)

ประวัติดนตรีไทยในสมัยรัตนโกสินทร์




ประวัติดนตรีไทยในสมัยรัตนโกสินทร์  
         ในสมัยนี้ เมื่อบ้านเมืองได้ผ่านพ้นจากภาวะศึกสงครามและได้มีการก่อสร้างเมือง ให้มั่นคงเป็นปึกแผ่น เกิดความสงบร่มเย็น โดยทั่วไปแล้ว ศิลปวัฒนธรรมของชาติ ก็ได้รับการฟื้นฟูทะนุบำรุง และส่งเสริมให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น โดยเฉพาะ ทางด้านดนตรีไทย ในสมัยนี้ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงเจริญขึ้นเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้ คือ
         สมัยรัชกาลที่ 1 ดนตรีไทยในสมัยนี้ส่วนใหญ่ ยังคงมีลักษณะและ รูปแบบตามที่มี
มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาที่พัฒนาขึ้นบ้างในสมัยนี้ก็คือ การเพิ่มกลองทัด ขึ้นอีก 1 ลูก ใน วงปี่พาทย์ ซึ่งแต่เดิมมา มีแค่ 1 ลูก พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 1 วงปี่พาทย์ มีกลองทัด 2 ลูก เสียงสูง (ตัวผู้) ลูกหนึ่ง และเสียงต่ำ (ตัวเมีย) ลูกหนึ่ง และการใช้กลองทัด 2 ลูก ในวงปี่พาทย์ก็เป็นที่นิยมกันมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้
         สมัยรัชกาลที่ 2 อาจกล่าวว่าในสมัยนี้ เป็นยุคทองของดนตรีไทยยุคหนึ่ง ทั้งนี้เพราะ องค์พระมหากษัตริย์ ทรงสนพระทัยดนตรีไทยเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ ในทางดนตรีไทย ถึงขนาดที่ทรงดนตรีไทย คือ ซอสามสาย ได้ มีซอคู่พระหัตถ์ชื่อว่า "ซอสายฟ้าฟาด" ทั้งพระองค์ได้พระราชนิพนธ์เพลงไทยขึ้นเพลงหนึ่งเป็นเพลงที่ไพเราะ และอมตะ มาจนบัดนี้นั่นก็คือเพลง "บุหลันลอยเลื่อน"
         การพัฒนาเปลี่ยนแปลงของดนตรีไทยในสมัยนี้ก็คือ ได้มีการนำเอาวงปี่พาทย์
มาบรรเลงประกอบการขับเสภาเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ยังมีกลองชนิดหนึ่งเกิดขึ้น โดยดัดแปลงจาก "เปิงมาง" ของมอญ ต่อมาเรียกกลองชนิดนี้ว่า "สองหน้า" ใช้ตีกำกับ
จังหวะแทนเสียงตะโพนในวงปี่พาทย์ประกอบการขับเสภา  เนื่องจากเห็นว่าตะโพน
ดังเกินไป  จนกระทั่งกลบเสียงขับ กลองสองหน้านี้ปัจจุบันนิยมใช้ตีกำกับจังหวะหน้าทับ ในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง

อ้างอิง  http://pirun.ku.ac.th/~b521110058/Templates/Prawatrattanaksin.html

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

ทัศนศึกษา

                                                   







                                                                    วันไปทัศนศึกษา



 วันไปทัศนศึกษาที่เมืองจำลองพัทยา จ.ชลบุรี
สนุกมาก มีเมืองสวยๆเยอะเเยะของเเต่ละประเทศ  อยากไปอีก